ท่าพื้นฐาน ที่
4
ชื่อท่า กุงจื้อหม่า
เป็นสำเนียงภาษาจีนกลาง
ส่วน เก็งหยี่เบ้ เป็นสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว ลักษณะ
เป็นท่ายืนกว้าง ย่อหัวเข่าหน้าจนเกือบจะตั้งฉากกัน
ปลายเท้าหน้าบิดเข้าหาเท้าหลัง เยื้องกันประมาณ 45
องศา ขาหลังเหยียดตรง ให้ทิ้งน้ำหนักอยู่ตรงกลาง
ระหว่างขาหน้า และขาหลัง เป็นการฝึกให้ขาทั้งสอง
มีพละกำลัง และก้าวขาได้ไกลในการก้าวสืบเพื่อการ
จู่โจมคู่ต่อสู้
ท่ายืน กุงจื้อหม่า
เป็นการยืนลักษณะเหมือน
ตัวอักษารจีน 'กุง หรือเก็ง' เป็นท่าที่แสดงถึงพละกำลัง
ที่แข็งแกร่ง และฐานการยืนที่มั่นคง ท่ายืนนี้หากหมุน
เฉพาะช่วงเอว และหันหน้าไปด้านหลังจะเป็นท่าการ
ยิงธนูของจีน สำนักศิลปะมวยจีนต่างๆเมื่ออดีต นิยม
ใช้ท่ายืน กุงจื้อหม่านี้ ในการแข่งขันดันกระบองยาม
ว่างจากการฝึก นักศิลปะมวยจีนเรียกการแข่งขันนี้ว่า
ทกถุ่ยบ้วย (สำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว) โดยผู้ที่แข่งขันจะ
ยืนอยู่ปลายกระบองทั้งสองข้าง แล้วจับปลายกระบอง
ดันกันเพื่อทดสอบพละกำลังกัน ซึ่งก็ต้องอาศัยท่ายืน
กุงจื้อหม่า นี้เป็นฐาน